จังหวัด พะเยา ภาคเหนือ

8415 จำนวนผู้เข้าชม  | 

จังหวัด พะเยา ภาคเหนือ

จังหวัดพะเยา

 
    พะเยาเป็นเมืองเก่าแก่เมืองหนึ่งในแถบลานนาไทย เดิมมีชื่อว่า {ภูกามยาว} หรือ พยาว มีอายุกว่า 900 ปี โดยพ่อขุนศรีจอมธรรม กษัตริย์แห่งราชวงศ์ลัวจักรราช ผู้ครองเมืองหิรัญนครเงินยาง เมืองเชียงแสน และเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในสมัยพ่อขุนงำเมือง ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงการปกครองตามอิทธิพลของอาณาจักรต่างๆ ที่ผลัดกันมีอำนาจในแถบนี้ จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พยาวเปลี่ยนชื่อเป็นพะเยา และรวมอยู่กับจังหวัดเชียงราย {จนในปี} พ.ศ. 2520 จึงได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นจังหวัดพะเยา
 
{พะเยาเป็นเหมือนเมืองผ่านที่นักท่องเที่ยวมักมองข้ามและเลยไปเที่ยวจังหวัดเชียงรายเสียมากกว่า แต่พะเยาก็เป็นจังหวัดที่มีแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามมีชื่อหลายแห่ง โดยเฉพาะป่าเขาพนาไพรที่ยังคงสมบูรณ์ดูร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่ที่ยังเต็มพื้นที่ของจังหวัด ถึงแม้ในอดีตจะเคยมีการตัดต้นไม้เป็นจำนวนมาก แต่เวลาที่ล่วงเลยไปทำให้ป่ากลับมาค่อย ๆ สมบูรณ์ทำให้พะเยาดูสดชื่นและมีป่าที่สมบูรณ์อีกครั้ง มีกว๊านพะเยาที่ดูพระอาทิตย์ตกยามเย็นได้สวยนัก มีผลไม้ที่ขึ้นชื่อและมีรสหวานไม่แพ้ที่ไหน ๆ คือ ลิ้นจี่ จะออกมากในช่วงเดือนพฤษภาคม มีเครื่องจักสานผักตบชวาฝีมือดี รูปทรงทันสมัยผลิตที่บ้านสันม่วง พร้อมกับมีอุทยานแห่งชาติหลายแห่งที่มีความหลากหลายของแหล่งท่องเที่ยวให้นักท่องเที่ยวได้เดินทางมาสัมผัส เช่น อุทยานแห่งชาติดอยภูนาง ที่มีนกยูงมากที่สุดในภาคเหนือ อุทยานแห่งชาติภูซาง มีน้ำตกน้ำอุ่น 33 องศาเซลเซียส ทำให้วันนี้พะเยาไม่อาจเป็นจังหวัดที่ใคร ๆ จะมองข้ามไปได้}
 
{พะเยามีเนื้อที่ประมาณ 6,335 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 7 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองพะเยา อำเภอจุน อำเภอเชียงคำ อำเภอเชียงม่วน อำเภอดอกคำใต้ อำเภอแม่ใจ กิ่งอำเภอภูซาง และกิ่งอำเภอภูกามยาว}
 
{อาณาเขต|ละแวก|เขต|บริเวณ|แถว|ขอบเขต|อาณาบริเวณ|เขตแดน|แถบ|ถิ่น|ย่าน|แนว|พรมแดน|ชายแดน|แนวพรมแดน|แนวชายแดน|พื้นที่}
ทิศเหนือ ติดกับอำเภอพาน อำเภอป่าแดด และอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย
ทิศตะวันออก ติดกับแขวงไชยบุรี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และอำเภอท่าวังผา อำเภอบ้านหลวง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน
ทิศใต้ ติดกับอำเภองาว จังหวัดลำปาง และอำเภอสอง จังหวัดแพร่
ทิศตะวันตก ติดกับอำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง และ อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย
 
การเดินทาง
รถยนต์ สามารถเดินทางได้หลายเส้นทาง 
เส้นทางที่ 1 ใช้ทางหลวงหมายเลข 32 (สายเอเซีย) ผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี นครสวรรค์ เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 1 ที่นครสวรรค์ ผ่านอำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร ตาก ผ่านอำเภอเถิน อำเภอสบปราบ อำเภองาว จังหวัดลำปาง เข้าสู่ตัวเมืองพะเยา ระยะทาง 969 กิโลเมตร
เส้นทางที่ 2 ใข้ทางหลวงหมายเลข 32 (สายเอเซีย) ผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี นครสวรรค์ เลี้ยวขวาเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 117 จนถึงพิษณุโลก แยกซ้ายเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 12 ไปจนถึงสุโขทัย เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 101 ผ่านอำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 103 ผ่านอำเภอร้องกวาง เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 1 ผ่านอำเภองาว เข้าสู่ตัวเมืองพะเยา ระยะทาง 782 กิโลเมตร 
เส้นทางที่ 3 สามารถเดินทางเป็นวงรอบได้โดยใช้เส้นทางกรุงเทพฯ-นครสวรรค์-พิษณุโลก-สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-เด่นชัย-แพร่-ร้องกวาง-พะเยา ระยะทาง 782 กิโลเมตร ขากลับใช้เส้นทางพะเยา-เชียงราย-แม่สรวย-เวียงป่าเป้า-ดอยสะเก็ด-เชียงใหม่-ลำปาง-ตาก-กรุงเทพฯ ระยะทาง 966 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 9 ชั่วโมง
 
{รถโดยสารประจำทาง บริษัท ขนส่ง จำกัด มีรถโดยสารปรับอากาศและรถธรรมดาออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ ถนนกำแพงเพชร 2 สอบถามได้ที่ โทร. 0 2537 8055, 0 2936 2852 หรือ บริษัท ขนส่ง จำกัด พะเยา โทร. 0 5443 1363 สำหรับรถเอกชนติดต่อบริษัท สยามเฟิร์สทัวร์ โทร. 0 2954 3601, 0 5443 1865 สมบัติทัวร์ โทร. 0 2936 2495-9, 0 5424 6503
จากเชียงใหม่มีรถโดยสารประจำทางทั้งธรรมดา และปรับอากาศไป-กลับพะเยาทุกวัน ตั้งแต่ 06.00-17.30 น. รถออกทุกๆ ครึ่งชั่วโมง สอบถามได้ที่บริษัท ไทยพัฒนกิจขนส่ง จำกัด โทร. 0 5324 6503}
 
{รถไฟ จากสถานีรถไฟหัวลำโพงสามารถนั่งรถไฟสายเหนือลงที่ลำปาง หรือเชียงใหม่ แล้วต่อรถโดยสารไปจังหวัดพะเยา สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690, 0 2223 7010, 0 2223 7020 หรือ}
 
เครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด ไม่มีเครื่องบินบินตรงไปจังหวัดพะเยา ต้องใช้เที่ยวบินกรุงเทพ-เชียงราย หรือกรุงเทพฯ-แพร่ จากนั้นต้องเช่าเหมารถมายังจังหวัดพะเยา สอบถามเที่ยวบินได้ที่ 1566, 0 2280 0060, 0 2628 2000 หรือ 
 
ระยะทางจากอำเภอเมืองไปยังอำเภอต่างๆ
อำเภอดอกคำใต้ 15 กิโลเมตร
อำเภอแม่ใจ 24 กิโลเมตร
อำเภอจุน 48 กิโลเมตร
อำเภอเชียงคำ 76 กิโลเมตร
อำเภอปง 79 กิโลเมตร
อำเภอเชียงม่วน 117 กิโลเมตร 
กิ่งอำเภอภูซาง 85 กิโลเมตร
 
ระยะทางจากจังหวัดพะเยาไปยังจังหวัดอื่น ๆ ดังนี้
เชียงราย 94 กิโลเมตร
อำเภอแม่สาย (เชียงราย) 156 กิโลเมตร
ลำปาง 131 กิโลเมตร
เชียงใหม่ 222 กิโลเมตร
 
  
 
อนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง {ประดิษฐานอยู่ที่สวนสาธารณะเทศบาลเมืองพะเยา (สวนสมเด็จย่า 90) หน้ากว๊านพะเยา อดีตกษัตริย์ผู้ปกครองเมืองภูกามยาวลำดับที่ 9 ระหว่างปี พ.ศ. 1801-1841 เป็นยุคที่เจริญรุ่งเรืองมาก พระองค์เป็นพระสหายร่วมน้ำสาบานกับพ่อขุนเม็งรายแห่งเมืองเชียงราย และพ่อขุนรามคำแหงแห่งกรุงสุโขทัย ซึ่งทั้งสามพระองค์ได้กระทำสัตย์ต่อกัน ณ แม่น้ำอิง บริเวณสถานีประมงน้ำจืดพะเยา พ่อขุนงำเมืองเป็นผู้ทรงอิทธิฤทธิ์กล่าวกันว่าเมื่อพระองค์เสด็จไปทางไหน "แดดก็บ่อฮ้อน ฝนก็บ่อฮำ จักให้แดดก็แดด จักให้บดก็บด" จึงได้พระนามว่า "งำเมือง"}
 
กว๊านพะเยา กว๊าน หมายถึง {หนองน้ำหรือบึงน้ำขนาดใหญ่ คำนี้มีใช้ในท้องถิ่นล้านนาเฉพาะที่จังหวัดพะเยาแห่งเดียวเท่านั้น กว๊านพะเยา เป็นบึงน้ำขนาดใหญ่ รูปพระจันทร์เสี้ยวเกือบครึ่งวงกลม แหว่งทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ ที่เกิดจากการยุบตัวของเปลือกโลกเมื่อประมาณ 70 ล้านปีมาแล้ว โอบล้อมดอยแม่ใจซึ่งเป็นภูเขาสูงยาว เป็นแอ่งน้ำที่รวบรวมของลำห้วยต่างๆ 18 สาย ต่อมาในปี 2478 กรมประมงได้ตั้งสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยาขึ้นบริเวณต้นแม่น้ำอิงและสร้างฝายกั้นน้ำทำให้เกิดเป็นบึงขนาดใหญ่ มีความลึกเฉลี่ย 1.5 เมตร กว๊านพะเยาเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญที่สุดของจังหวัดพะเยา เป็นทั้งแหล่งประมงน้ำจืดที่สำคัญที่สุดของภาคเหนือตอนบน และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดพะเยา มีเนื้อที่ประมาณ 12,831 ไร่ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาชนิดต่างๆ เช่น ปลากราย ปลาสวาย ปลาเทโพ ปลาจีน ปลาไน รวมทั้งปลานิล อันลือชื่อของจังหวัดพะเยา ทัศนียภาพโดยรอบกว๊านพะเยา มีความร่มรื่น สามารถมองเห็นแนวทิวเขาสลับซับซ้อน งดงามมาก บริเวณริมกว๊านมีร้านอาหารและจัดเป็นสวนสาธารณะเหมาะที่จะไปนั่งเล่น พักผ่อนหย่อนใจในยามเย็น ชมพระอาทิตย์ตกริมกว๊านเป็นภาพที่สวยงามมาก}
 
สถานีประมงน้ำจืดพะเยา และพระตำหนักกว๊านพะเยา {ตั้งอยู่ถนนพหลโยธินระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 734-735 เป็นสถานีเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืด มีพิพิธภัณฑ์ปลาบึก แสดงเกี่ยวกับการเพาะพันธุ์ปลาบึกครั้งแรกของโลก โดยใช้พ่อแม่พันธุ์ที่เลี้ยงไว้ในบ่อดิน ปลาบึกเป็นปลาน้ำจืดไม่มีเกล็ด ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โตเต็มที่ยาว 3 เมตร น้ำหนัก 250 กิโลกรัม อาศัยอยู่ในแม่น้ำโขง นอกจากนั้นยังเป็นที่เพาะพันธุ์ปลาเพื่อแจกจ่ายแก่เกษตรกรได้แก่ ปลานิล ปลาไน ปลาตะเพียนขาว ปลายี่สกเทศ ภายในพิพิธภัณฑ์ยังจัดแสดงพันธุ์ปลาสวยงามที่หาดูยากไว้หลายชนิด เปิดให้ชมทุกวันเวลา 8.30-16.30 น. นอกจากนั้นยังมีเรือนประทับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเมื่อครั้งเสด็จมาทรงงานที่จังหวัดพะเยาอยู่ในบริเวณเดียวกัน บริเวณรอบตำหนักจะมีดอกไม้เมืองหนาวนานาพันธุ์ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 5443 1251}
 
วัดศรีโคมคำ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี และวัดพัฒนาตัวอย่าง {ประชาชนทั่วไปนิยมเรียกว่า "วัดพระเจ้าตนหลวง" ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศิลปเชียงแสนองค์ใหญ่ที่สุดในล้านนาไทย ขนาดหน้าตักกว้าง 16 เมตร สูง 18 เมตร สร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2034-2067 พระเจ้าตนหลวง หรือ พระเจ้าองค์หลวง มิใช่เป็นแต่เพียงพระพุทธรูปคู่เมืองพะเยาเท่านั้น แต่ถือเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองอาณาจักรล้านนาไทยด้วย วันวิสาขบูชาของทุกปีจะมีงานนมัสการพระเจ้าตนหลวงเรียกว่า "งานประเพณีนมัสการพระเจ้าองค์หลวงเดือนแปดเป็ง"}
 
หอวัฒนธรรมนิทัศน์ อยู่ใกล้กับวัดศรีโคมคำ {เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีรูปแบบการตกแต่งสวยงามจัดแสดงโบราณวัตถุ เอกสารข้อมูลสำคัญทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดพะเยา และเรื่องราวความเป็นมาทั้งด้านวรรณกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมประเพณี และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวพะเยา เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 09.00-16.00 น. ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 10 บาท เด็ก 5 บาท}
 
วัดพระธาตุจอมทอง ตั้งอยู่บนดอยจอมทอง ห่างจากตัวเมือง 3 กิโลเมตร {อยู่ตรงข้ามกับกับวัดศรีโคมคำ มีถนนขึ้นไปถึงเจดีย์พระธาตุจอมทองซึ่งเป็นปูชนียสถานโบราณคู่เมืองพะเยา บริเวณโดยรอบมีป่าไม้ปกคลุม เป็นสวนรุกชาติ มองเห็นตัวเมืองและกว๊านพะเยาได้โดยรอบ}
 
วัดอนาลโย ตั้งอยู่บนดอยบุษราคัมห่างจากตัวจังหวัด 20 กิโลเมตร {ไปทางทิศเหนือตามทางหลวงหมายเลข 1 (พะเยา-เชียงราย) ประมาณ 7 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 1127-1193 อีก 9 กิโลเมตร ภายในวัดประกอบด้วยพระพุทธรูปศิลปสุโขทัยลักษณะงดงามมาก และยังมีพระพุทธรูปปางต่างๆ อีกหลายองค์ อาทิ พระพุทธไสยาสน์ พระพุทธรูปปางลีลา พระพุทธรูปปางนาคปรก สร้างด้วยความประณีตสวยงามแบบศิลปไทย องค์รัตนเจดีย์เป็นศิลปะแบบอินเดียพุทธคยา เก๋งจีนประดิษฐานเจ้าแม่กวนอิม หอพระแก้วมรกตจำลอง จากยอดเขาสามารถชมทัศนียภาพของกว๊านพะเยาและเมืองพะเยาได้อย่างสวยงาม มีทางขึ้น 2 ทาง คือ ทางบันไดและทางรถยนต์}
 
วัดศรีอุโมงค์คำ ตั้งอยู่ถนนท่ากว๊าน {ภายในวัดมีพระเจดีย์สมัยเชียงแสนที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์มาก เป็นวัดที่ประดิษฐานพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองพะเยานามว่า "หลวงพ่องามเมืองเรืองฤทธิ์" ชาวบ้านเรียกว่า "พระเจ้าล้านตื้อ" ถือกันว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะงดงามที่สุดแห่งล้านนาไทย}
 
วัดลี {ตั้งอยู่ที่บ้านหล่ายอิง ใกล้กับโรงเรียนเทศบาล 3 ตำบลเวียง เป็นวัดเก่าแก่ที่สำคัญของเมืองพะเยา สร้างเมื่อ พ.ศ.2038 ตรงกับสมัยของพระเจ้ายอดเชียงราย กษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา ซึ่งสร้างถวายแด่พระเจ้ายอดเชียงรายกษัตริย์เมืองเชียงใหม่ ชื่อวัดลี เป็นชื่อดั้งเดิม เป็นคำไทยโบราณทางภาคเหนือ หมายถึง กาดหรือตลาด "วัดลี" จึงหมายถึงวัดที่อยู่ในย่านชุมชนตลาด ภายในวัดมีปูชนียสถานที่สำคัญ คือองค์พระธาตุวัดลี และยังพบโบราณวัตถุสมัยอาณาจักรพะเยาจำนวนมาก โดยเฉพาะพระพุทธรูปหินทราย นอกจากนั้นยังมีพิพิธภัณฑ์ที่เก็บสะสมของโบราณไว้อีกด้วย}
 
อุทยานแห่งชาติดอยหลวง ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ พะเยา เชียงราย และลำปาง รวมเนื้อที่ 731,250 ไร่ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2533 ลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน เป็นป่าต้นน้ำของกว๊านพะเยา แม่น้ำวังและแม่น้ำลาว สภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าเบญจพรรณ ป่าดิบชื้นและป่าเต็งรัง มีสัตว์ป่าหลายชนิดเช่น เลียงผา กวาง เก้ง หมูป่า ลิง ค่าง ชะนี กระจง หมาใน ไก่ป่า ไก่ฟ้า และนกชนิดต่างๆ มากกว่า 150 ชนิด ที่ทำการอุทยานตั้งอยู่ที่อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย อุทยานฯ มีน้ำตกหลายแห่ง เช่นน้ำตกปูแกง จังหวัดเชียงราย น้ำตกวังแก้ว จังหวัดลำปาง และน้ำตกจำปาทอง จังหวัดพะเยา อุทยานมีบ้านพัก สถานที่กางเต็นท์และร้านสวัสดิการบริการ สามารถสอบถามข้อมูลได้ที่ อุทยานแห่งชาติดอยหลวง ตำบลแม่เย็น อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย 57120 โทร. 0 5360 9042 การเดินทางไปอุทยานใช้เส้นทางถนนพหลโยธิน (พะเยา-เชียงราย) ห่างจากพะเยา 39 กิโลเมตร อุทยานแห่งชาติดอยภูนาง ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอดอกคำใต้ อำเภอปง และอำเภอเชียงม่วน มีพื้นที่ทั้งหมด 462,775 ไร่ พื้นที่ประกอบไปด้วยเทือกเขาสลับซับซ้อน สภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง ภายในอุทยานมีสัตว์หลายชนิด เช่น ตะพาบน้ำ ตะกวด นกชนิดต่างๆ โดยเฉพาะนกยูง นับเป็นอุทยานที่มีนกยูงมากที่สุดในภาคเหนือประมาณ 265 ตัว เป็นนกยูงเขียว (หรือนกยูงไทย) ชนิดพันธุ์ย่อยอินโดจีน ฤดูผสมพันธุ์ของนกอยู่ในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคมของทุกปี อุทยานฯ มีบ้านพักและเต็นท์บริการนักท่องเที่ยว สอบถามข้อมูลได้ที่ อุทยานแห่งชาติดอยภูนาง บ้านบ่อเบี้ย ตำบลบ้านมาง อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา 56160 โทร. 0 1980 7240 การเดินทาง ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1021 ถึงอำเภอดอกคำใต้ เลี้ยวขวาเข้าเส้นทางหมายเลข 1251 (ดอกคำใต้-เชียงม่วน) ระยะทาง 45 กิโลเมตร เลี้ยวขวาที่สามแยกบ้านบ่อเบี้ยไปอีก 5 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการอุทยาน
 
วัดพระนั่งดิน อยู่ในตำบลเวียง ไปตามทางหลวงหมายเลข 1148 ห่างจากตัวอำเภอ 4 กิโลเมตร เป็นวัดที่องค์พระประธานของวัดไม่เหมือนกับพระประธานองค์อื่นๆ คือไม่มีฐานชุกชีรองรับ เคยมีราษฎรสร้างฐานชุกชีเพื่ออัญเชิญพระประธานขึ้นประดิษฐาน แต่ปรากฏว่าพยายามยกเท่าไรก็ยกไม่ขึ้น จึงเรียกสืบต่อกันมาว่า พระนั่งดิน
 
อนุสรณ์ผู้เสียสละ พ.ต.ท. 2324 อยู่ห่างจากตัวอำเภอเชียงคำ ตามทางหลวงหมายเลข 1021 ไปประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นอนุสรณ์สถานที่สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงวีรกรรมของพลเรือน ตำรวจ ทหารที่ได้พลีชีพในการสู้รบเพื่อรักษาอธิปไตยในพื้นที่ชายแดนจังหวัดพะเยาและเชียงราย นอกจากนั้นยังจัดเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงภาพถ่ายรูปจำลองและอาวุธยุทโธปกรณ์ที่เคยใช้ต่อสู้ในการรบครั้งนั้นไว้ด้วย เปิดให้เข้าชมในวันเวลาราชการ เวลา 09.00-16.00 น.
 
วัดพระธาตุสบแวน อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอ 4 กิโลเมตร เป็นที่ประดิษฐานองค์พระธาตุเจดีย์ที่มีอายุเก่าแก่มาก คาดว่าอายุราว 800 ปี ภายในบรรจุเส้นพระเกศา และกระดูกส่วนคางของพระพุทธเจ้า องค์พระธาตุได้รับการบูรณะมาหลายครั้ง แต่ยังคงรักษาสภาพศิลปะแบบล้านนาไทยไว้ได้
 
วัดนันตาราม อยู่ที่บ้านดอนไชย ไม่ปรากฎว่าสร้างเมื่อไร เป็นวัดที่มีศิลปะแบบพม่า ตัววิหารสร้างด้วยไม้สักทั้งหลังตกแต่งลวดลายฉลุไม้อย่างสวยงามตามส่วนประกอบต่างๆ เช่น หน้าต่าง หน้าบัน ระเบียง เป็นต้น ภายในวัดมีพิพิธภัณฑ์ธนบัตรเก่า เครื่องใช้โบราณ ผ้าลายโบราณ ภาพวาดโบราณเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการเทศน์มหาชาติแต่ละตอน เปิดให้เข้าชมเวลา 08.00-18.00 น.
 
ศูนย์วัฒนธรรมไทยลื้อ ตั้งอยู่ที่วัดหย่วนในอำเภอเชียงคำ จัดตั้งเป็นศูนย์แสดงผลงานทางศิลปวัฒนธรรม และฝึกอาชีพของชาวไทยลื้อ โดยเฉพาะผ้าของชาวไทยลื้อที่มีลวดลายและสีสันสดใส เช่น ลายดอกขอเครือ ลายดอกขอ ลายม้า ลายดอกตั้ง เป็นต้น
 
อุทยานแห่งชาติภูซาง เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาดอยผาหม่น อยู่ในเขตกิ่งอำเภอภูซาง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา และอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย มีอาณาเขตติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเป็นแนวเขตยาวประมาณ 30 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 178,049 ไร่ พื้นที่ดังกล่าวเป็นป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณ พันธุ์ไม้ที่มีค่า ได้แก่ ไม้ยาง ไม้ตะเคียน จำปีป่า ยมหอม ประดู่ สัก และรัง เป็นต้น พื้นที่มีลักษณะเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน มียอดเขาดอยผาหม่น ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำของแม่น้ำลาว น้ำเปื่อย น้ำบง และน้ำญวณ เพื่อใช้หล่อเลี้ยงพื้นที่เกษตรกรรมของอำเภอเชียงคำ กิ่งอำเภอ ภูซาง จังหวัดพะเยา และอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย นอกจากธรรมชาติที่สมบูรณ์ บริเวณอุทยานฯ ยังมีเต่าปูลู ซึ่งเป็นเต่าพันธุ์ที่หายากและใกล้สูญพันธ์ มีขนาดเล็ก ตัวเตี้ย หางยาว และด้วยเป็นเต่าพันธุ์หัวโต ขาทั้ง 4 ข้างและหางไม่สามารถหดเข้ากระดองได้ เวลามีศัตรูหรือภัยมา โดยเฉพาะเวลาเกิดไฟไหม้ป่าจะพบเต่าปูลูถูกไฟไหม้ตายเป็นประจำ เต่าปูลูจึงถูกนำมาเป็นสัญลักษณ์ในการป้องกันไฟป่าของเมืองไทย เต่าปูลูเป็นเต่าที่ชอบอยู่ในป่าอุดมสมบูรณ์บนภูเขาสูงใกล้น้ำตกหรือลำห้วยที่มีน้ำใสไหลผ่านตลอดเวลา สามารถชมเต่าพันธุ์นี้ได้ในเวลากลางคืนขณะกำลังออกหากิน
 
ตลาดการค้าชายแดนไทย-ลาว (บ้านฮวก) อยู่ห่างจากอุทยานแห่งชาติภูซาง 7 กิโลเมตร เป็นจุดผ่อนปรนให้มีการค้าระหว่างไทยกับลาว เป็นตลาดนัดเพื่อให้ประชาชนทั้งไทยและลาวได้ซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากัน สินค้าที่นำมาขายคือ ผลผลิตทางการเกษตรรวมทั้งงานหัตถกรรม เช่น ผ้าทอ เป็นต้น การเปิดตลาดจะมีทุกวันที่ 10 และ 30 ของทุกเดือน จากจุดนี้ยังสามารถเดินทางต่อไปถึงภูชี้ฟ้าและผาตั้ง จังหวัดเชียงรายได้ ระยะทาง 38 กิโลเมตร
 
แหล่งข้อมูล : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้