ด่านพรหมแดน สามเหลี่ยนมรกต อุบลราชธานี
ด่านพรหมแดน สามเหลี่ยนมรกต
ได้เกิดเหตุการสู้รบขึ้นที่ "ช่องบก" เมื่อปี 2529 ซึ่งเป็นพื้นที่รอยต่อสามประเทศ คือ ไทย, สปป.ลาว และกัมพูชา จนถึงปี พุทธศักราช 2531 เหตุการณ์จึงสงบลง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ได้มีพระราชดำริกับ เรือตรีดนัย เกตุสิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ในสมัยนั้น กับ พลตรี อิสระพงษ์ หนุนภักดี ผบ.พล.ร.6 (ยศขณะนั้น) และคุณปราจีน ชำนาญระเบียบกิจ ผอ.ชลประทานที่ 5 (สมัยนั้น) ให้จัดสร้างอ่างเก็บน้ำ "ห้วยพลาญเสือตอนบน" ขึ้น เพื่อเป็นสิ่งกีดขวาง แนวทางเคลื่อนที่ของข้าศึก ซึ่งต่อมาได้สร้างเสร็จในปีพุทธศักราช 2531 โดยจุดก่อสร้างอยู่ใกล้กับพรมแดน 3 ประเทศ คือ (ไทย, สปป.ลาว, กัมพูชา) พร้อมทั้งได้ประโยชน์จากการกักเก็บน้ำ เพื่อใช้ในการเกษตรของ ราษฎรในพื้นที่ ลักษณะของน้ำในอ่างที่กักเก็บ จะมีลักษณะสีเขียวเข็ม ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับสีของมรกตสดใส เป็นธรรมชาติมาก อีกทั้งป่าไม้บริเวณรอยต่อสามประเทศ ยังมีความเขียวขจี เป็นบริเวณกว้าง ดังนั้น จึงคิดว่าน่าจะเรียกชื่อว่า “สามเหลี่ยมมรกต” ซึ่งเป็นชื่อที่คุ้นเคยตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ในจุดนี้คิดว่ายังสามารถที่จะพัฒนาให้
เป็นแหล่งท่องเที่ยวต่อไปได้อีกด้วย แต่เนื่องจากพื้นที่ บริเวณดังกล่าว เป็นพื้นที่ที่มีการสู้รบเก่า จึงมีทุ่นระเบิด กับระเบิด เป็นจำนวนมาก จึงยากต่อการพัฒนา แต่ขณะนี้ได้ทราบว่า รัฐบาลปัจจุบัน โดยการนำของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี (พันตำรวจโททักษิน ชินวัตร) เป็นหัวหน้ารัฐบาล ได้มีแนวคิดที่จะพัฒนาบริเวณ "สามเหลี่ยมมรกต" แห่งนี้ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าชื่นชม เนื่องจากทางภาคเหนือตอนบนที่มี "สามเหลี่ยมทองคำ" ซึ่งมีรอยต่อของ 3 ประเทศ คือ ไทย, พม่า, และ สปป.ลาว ซึ่งในทุกๆปีจะมีนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก ดังนั้น ในส่วนของทางภาค อิสานตอนล่าง ซึ่งมีจังหวัดอุบลราชธานีเป็นศูนย์กลาง ก็มีภูมิประเทศ เป็นไปในลักษณะ 3 ชาติ 3 ประเทศ มาบรรจบกันที่เรียกว่า “สามเหลี่ยมมรกต” ซึ่งพร้อมที่จะพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งด้วย เช่นกัน